หลังจากที่ผมได้นำสี “ครั่ง” มาเล่าให้ทุกคนได้ฟังแล้ว ถ้าจับใจความได้ ครั่งจะให้สีแดงและมีประโยชน์เป็นอย่างมากกับหลากหลายอุตสาหกรรมในประเทสของเราแต่กับอีกหลากหลายชาติด้วย และครั่งยังเป็นผลผลิตทางธรรมชาติที่สร้างรายได้แก่ชาวชนบทของประเทศเราเป็นอย่างมาก
วันนี้ผมขอนำเรื่องที่ต่อเนื่องกับเรื่องของครั่งมาเล่าสู่กันฟังกับเรื่องของสีที่คนเราได้จากธรรมชาติ และสีที่ได้จากธรรมชาติสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงาน พิมพ์สกรีน ได้หรือไม่
โลกเราทุกวันนี้ต่างพึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆจนบางทีเราลืมไปว่า คนโบราณที่พวกเค้าไม่มีเทคโนโลยีแบบน้ พวกเขาสามารถสร้างอารยธรรมหริอผลงานต่างๆที่เรามีโอกาสได้เห็นจนทุกวันนีได้อย่างไร นี่แหละคือจุดที่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ในใจผมอยู่ตลอกเวลา คนสมัยก่อนมีลิปติกหรือไม่ และวสาวๆสมัยก่อนใช้อะไรทาปาก? บ้านเรือนสมัยก่อนมีสีหรือทามีหรือไม่แล้วใช้สีอะไรทา? คนสมัยก่อนใส่เสื้อผ้าที่มีสีสันหรือไม่แล้วเอาสีอะไรย้อม? คนสมัยก่อนเค้าเอาสีมาจากไหนอะไรยังไง? ผมคิดว่าคงไม่ใช่แค่แค่มคนเดียวแน่นอนที่สงสัยแบบนี้ ต้องมีคนที่สงสัยอย่างผมอย่างนั้นเราไปหาคำตอบกันดีกว่าครับ
หลายๆคนอาจจะมีความรู้เรื่องนี้อยู่บ้างแต่อาจจะรู้ได้ไม่ทุกสีวันนีผมได้รวบรวมสีธรรมชาติต่างๆมารวมไว้ที่นี่ครับ
สีเหลือง | แก่นขนุน, ขมิ้นชัน, แก่นเข, รากสะกือ,ดอกโสน,ฟักทอง,ดอกคำฝอย,ลูกตาลยี,ดอกกรรณิการ์ ,ลูกพุด |
สีแดง | ครั่ง,กระเจี๊ยบ,มะเขือเทศสุก,ถั่วแดง,มะละกอ,ฝางและพริกแดง |
สีชมพู | ต้นมหากาฬ ,ต้นฝาง |
สีเขียว | ใบเตย,ใบย่านาง,พริกเขียว,ใบคะน้า,เปลือกต้นมะริดไม้, ใบหูกวาง, เปลือกกระหูด,เปลือกสมอ หรือ ใบสมอ ,ใบบวบ |
สีเขียวอ่อน | เปลือกมะพร้าวอ่อน,ใบมะม่วง,ใบยูคา |
สีเขียวแก่ | ใบขี้เหล็ก |
สีน้ำตาล | น้ำตาลเคี่ยวไหม้, เปลือกไม้ประดู่ ,เนื้อในเมล็ดโกโก้,ตะแบก,เปลือกหมาก |
สีน้ำตาลไหม้ | ใบหูกวาง |
สีน้ำตาลแก่-กากี | เปลือกมะพร้าวแก่ |
สีน้ำเงิน | อัญชัญ,ต้นคราม |
สีม่วง | ดอกอัญชันผสมมะนาว ,ข้าวเหนียวดำ ,มันเลือดนก ,ถั่วดำ ,มังคุด |
สีม่วงอ่อน | ลูกหว้า |
สีน้ำเงิน | ดอกอัญชัน ,ต้นคราม |
สีดำ | ลูกกระจาย ,ลูกมะเกลือ ,ถ่านกาบมะพร้าว ,ถั่วดำ ,ดอกดิน |
สีน้ำตาลแก่-ดำ | เปลือกกระโดน ,เปลือกนุ่น |
สีแสด | เมล็ดของผลคำแสด |
สีแดงเลือดนก | ลูกตะตี |
สีกากีออกเขียว | แก่นขนุน ,เปลือกเอกา |
สีฟ้า | ใบคราม |
สีเหลืองไพร | เปลือกกระท้อน |
สีตองอ่อน | ใบตอง ,มะพูดหรือรากแถลง |
สีเปลือกไม้ | ต้นลกฟ้า ,หนามกราย, ไม้โกงกาง, เปลือกตะบูน |
สีเทาอ่อน-แก่ | โคลน |
สีต่างๆเหล่านี้เป็นสีที่ได้จากธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีใช้ในการย้อมผ้า ทำสีผสมอาหรต่าง และในบางครั้งก็มีการนำไปสกัดเพื่อใช้ใน งานพิมพ์ จำพวกสกรีนเสื้อผ้า พิมพ์ลายผ้าเป็นต้น
ข้อดีของการใช้สีที่สกัดจากธรรมชาติคือจะเกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้และผู้ผลิตด้วย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้สีที่สกัดจากธรรมชาติผสมกับอาหาร แน่นอนว่าผู้บริโภคจะปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
Appreciate for your comment. Welcome for all comment.