เราได้คุยเรื่องของโลโก้มาสองตอนแล้วนะครับ แล้วผมคาดว่าคงจะมีภาคต่ออีกค่อนข้างหลายภาค เพราะผมขอบอกได้เลยว่าเรื่องราวของโลโก้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดการ งานพิมพ์ การออกแบบโลดก้ การสื่อความหมาย ล้วนแล้วแต่เป็นศาสตร์และศิลป์ที่เราๆท่าน น่าจะเก็บความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ศึกษา เพราะเรื่องของโลโก้นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากเลยที่เดียว เหมือนเป็นตัวแทนของคุณหรือองค์กรบริษัทของคุณเลยที่เดียว สามารถติตามอ่านบทความที่ผมได้เขียนไว้กี่ยวกับเรื่องของโลโก้ก่อนหน้านี้ การพิมพ์ลายโลโก้แบบไทยๆ และ คุณลักษณะของโลโก้ที่ดีต่อการพิมพ์สกรีน
โลโก้ที่ดีต้องมีความยืดหยุ่นสูงและสามารถเปลี่ยแปลงได้ตลอดเวลา และ ต้องสื่อความหมายขององค์กรนั้นๆได้ดี
วันนี้ผมจะขอพูถึงในเรื่องของประเด็นที่ว่าโลโก้นั้นๆ ต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและสามารถสื่อความหมายออกมาได้ชัดเจน โลโก้ที่คนไทยทุกคนต้องรู้สึกภาคภูมิใจและรู้สึกเหมือนเป็นโลโก้ที่เผยแพร่ความเป็นคนไทยได้ดี ผมว่าหนึ่งในนั้นคือโลโก้ของ สายการบินไทย และนี้คือหนึ่งในความภาคภูมิใจส่วนตัวของผมคือ ผมได้มีโอกาสใน การพิมพ์ลาย โลโก้ของการบินไทยลงในบรรจุภัณฑ์ ภาคภูมิใจมากครับ ว่าแล้วเรามาพูดคุยกันกับเรื่องของโลโก้ของการบินไทยกันต่อ ขอเริ่มต้นด้วยประวัติของโลโก็การบินไทยที่ผมได้หาข้อมูลมา ต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก www.thaiairways.co.th และ www.bladereview.com ใครที่อยากอ่านข้อมูลแบบฉบับเต็มสามารถเข้าไปอ่านกันได้เลยครับ แต่ถ้าอยากอ่านในแบบฉบับย่อก็อ่านกันที่นี่ต่อได้เลยครับโลโก้ของสายการบินไทยของเรานั้นมี 3 ยุค โดยยุคแรกนั้นได้ใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503-2518
ในยุคแรกนี้โลโก้ใช้ที่เรียกกันว่า เป็นตัวละครรำ ( The Dancing Man )โลโก้นี้เป็นโลโก้ที่ใช้เป้นโลโก้แรกของการบินไทย ใช้จนถึงปี พ.ศ. 2518 จึงมีการพิจารณากันว่าสมควรที่จะมีการเปลี่ยแปลงโลโก้ของสายการบินใหม่ เพราะโลโก้นี้มีหลายคนนั้นคอยวิพากวิจารณ์อยู่พอสมควร เมื่อคณะกรรมการบริษัทในขณะนั้นรับเรื่องแล้วพิจารณาแล้วว่าสมควรแกการที่จะเปลี่ยแปลงโลโก้ The Dancing Man ก็ต้องปลดระวางจากน่านฟ้านับแต่นั้น
โลโก้ในยุคที่ 2 ซึ่งมีการขยายการให้บริการไปสู่ในส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2503-2548
เป็นโลโก้ที่มีลวดลายคล้ายกับดอกรัก ใบาสมา แต่ผู้ที่ออกแบบโลโก้นี่ไม่ใช่คนไทย แต่เป็นบริษัทต่างชาติ เป็นบริษัทโฆษณาที่มีผลงานที่ดี และอยู่ในระดับมาตราฐานโลก นั้นคือ บริษัท Landor Associates ทางบริษัทได้ส่งตัวแทนชื่อ Mr. Peter McDonald มาทำการสำรวจเมืองไทย เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรมประเพณีไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบโลโก้ขึ้นมา Peter ได้พูดเอาไว้ว่า “ เมืองไทยมีสิ่งที่จะให้เลือกเป็นสัญลักษณ์มากมาย ผิดกับบางประเทศใหม่ๆในแถบภูมิภาคนี้ที่ไม่รู้จะเอาอะไรมาเป็นวัญลักษณ์”
แบบของการบินไทยในตอนนั้นมีงานออกแบบมาให้ทางคณะกรรมการเลือกอยู่สิบกว่าแบบแต่ที่โดเด่นในตอนนั้นคือเป็นแบบของดอกบัวสีสดใส แต่ ณ ขณะนั้นมันขัดกันกับมสญาของการบินไทยที่ว่า เป็นบริการเอื้องหลวง ( Royal Orchid Service ) และอีกอย่างคนไทยใช้ดอกบัวในการบูชาพระการที่จะนำไปติดอยู่บนเครื่องบินก็อาจจะดูดี แต่ในบางทีที่โลโก้ต้องไปติดอยู่หน้าห้องน้ำของเครื่องบิน ก็อาจจะดูไม่ดีเท่าไหร่ ข้อสังเกตตรงนี้ทำให้โลโก้ที่ออกแบบมาเป็นดอกบัวถูกตัดทิ้งไปต้องออกแบบใหม่ และเลยกลายมาเป็น ตรา “เจ้าจำปี” ที่มีสีทอง ชมพู ม่วงสด ซึ่งตรงนี้ผู้ออกแบบได้แรงบันดาลใจจากใบเสมาซึ่งสามารถเห็นได้ทั่งไปในประเทศไทย ความหมายของโลโก้สื่ออกมาให้เห็นถึงความเร็วและการพุ่งทะยานขึ้นตรงไปที่น่านฟ้า เช่น จรวดหรือยานอวกาศ
เรื่องของสีมีความหมายว่า สีทองคือสีของวัดวาอารามในประเทศไทย
สีม่วงคือสีของกล้วยไม้ซึ่งเป็นสีของการบินไทย
สีชมพูคือสีของผ้าไหมและดอกบัว
ยุคที่ 3 ของสายการบินไทยที่ใช้ในปัจจุบันนี้ พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน
นี้เป็นโลโก้ในยุคปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ โดยองค์รวมนั้นยังเป็นแแบบเดิม แต่ที่เปลี่ยนแปลงคือเรื่องของสีที่ใช้และตัวอักษร เนื่องจากปี พ.ศ. 2548 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของการบินไทย จึงมีแนวคิดที่ว่าควรเปลี่ยนแปลงโลโก้ให้ดูมีชีวิตชีวาขึ้น จึงได้ทำการเพิ่มความสดและความเข้มของสีโลโก้แตยังคงใช้รูปแบบโลโก้ดังเดิม ตัวอักษรมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ให้ตัวอักษรมีขนาดเท่ากันทั้งหมด เพื่อสื่อให้เห็นถึงความมั่นคงของบริษัทและความแข็งแกร่งเช่นกันซึ่งโลโก้ในยุคที่ 3 นี้เป็นโลโก้ที่ผมได้มีโอกาส พิมพ์สกรีนโลโก้ ลงบนบรรจุภัณฑ์ นับเป็นเกียรติของผมมากและเมื่อผมได้มาอื่นถึงประวัติแล้วยิ่งรู้สึกยินดีและดีใจเป็นอย่างมากที่ครั้งนึงได้มีโอกาสให้บริการกับสายการบินของคนไทย
ครั้งหน้าผมยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจของโลโก้แบบไทยๆที่น่าค้นหามาให้ได้อ่านกัน ติดตามกันนะครับ