Social Icons

    

Pages

8.08.2555

สารปรอท!!อันตรายที่ควรห่างจากงานพิมพ์


หลังจากที่เราได้พูดคุยกันในเรื่องของสี Non Toxic ไปในคราวที่แล้วและได้พูดคุยกันต่อเนื่องไปจนถึงสารพิษที่ในทั่วๆไป และอันตรายของสารพิษอย่าง ตะกั่ว ที่ผมได้หยิบยกนำมาพูดเป็นตัวแรก แต่ขอเน้นย้ำว่า ในสี Non Toxic นั้นปราศจากสารพิษเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง เพราะสี Non Toxic นั้นสามารถใช้ได้ในผลิตภัณฑ์ของเด็กและในบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ความรับผิดชอบเหล่านี้เป็นเหมือนสิ่งที่บ่งบอกให้รู้ถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวมที่เหล่าผู้ผลิตทั้งหลายต้องไตร่ตรองให้ดี แม้ว่าการลงทุนอาจจะต้องเพิ่มขึ้นอีหสักหน่อย แต่ความปลอดภัยต่อผู้ใช้สินค้านั้นแน่นอ เราเหล่าผู้ผลิตก็ควรที่จะหันมาใส่ใจและดูแล

ในวันนี้ผมจะนำสารปรอทมาพูดคุยกันครับ หลายท่านคงจะคุ้นเคยกับคำว่าปรอทดีอยู่แล้ว เพราะเจ้าปรอทนี้นั้นอยู่ใกล้ตัวเราเป็นที่สุดเวลาเจ็บป่วย นั้นก็คือ “ปรอทวัดไข้” นั้นเองครับ

พิมพ์สกรีนพลาสติก

 หน้าตาแบบนี้คุ้นๆกันใช่หรือไม่?


คนเราทุกคนนั้นอยู่ใกล้อันตรายสารปรอทกันเป็นอย่างมาก ซึ่งสารปรอทนี้นั้นสามารถพบได้ใน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์ ในควันบุหรี่ เชื้อราทั้งหลาย และสารปรอทที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดนั้นมักจะพบปะปนอยู่ในอาหาร โดยเฉพาะในเนื้อปลาตัวใหญ่ อาทิ ปลาทูน่า ปลาฉลาม ปลาพวกนี้มีอายุที่ยาวนาน และมักจะกินปลาเล็กเป็นอาหาร โอกาสที่จะมีสารปรอทปะปนอยู่นั้นก็มีโอกาสเป็นอย่างมาก พิมพ์แพด


พิษจากสารปรอทนั้นก็เหมือนกับสารตะกั่ว นั้นก็คือจะมีการสะสมเข้าไปอยู่ในร่างกายเรื่อยๆจนถึงจุดที่สูงสุดก็จะแสดงอาการออกมา หรืออาจจะเป็นการรับสารพิษเหล่านี้ในปริมาณมากในครั้งเดียวก็อาจจะเกิดอาการเฉียบพลัน ซึ่งนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่บุคคลว่าจะเกิดอาการเช่นไร?

สีสำหรับงานพิมพ์สกรีนพลาสติกและงานพิมพ์อื่นไม่ควรมีสารนี้ปะปนอยู่ครับ

พิมพ์แพด
สารปรอท :  สารปรอทนั้นเป็นโลหะหนักสามารถขุดพบได้จากหินในเหมือง โดยนำหินนั้นทำให้ร้อนด้วยอุณหภูมิ 357 องศาเซลเซียส ปรอทนั้นถูกใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท ไม่ว่จะเป็น การทำเครื่องวัดความดันเครื่องวัดอุณหภูมิ ในอุตสาหกรรมการแพทย์ การย้อมสี อุตสาหกรรมสีต่างๆ อุตสาหกรรมพลาสติก และการผลิตเยื่อกระดาษ อุปกรณืถ่ายรูป อุปกรณ์ไฟฟ้า สารฆ่าแมลงต่าง และในวงการเภสัชภัณฑ์ด้วย
อันตรายจากสารปรอท มี 2 แบบคือ แบบเรื้อรังและแบบเฉียบพลัน โรคนีมีชื่อว่า Minamata disease
1. เรื้อรัง :  การสะสมสารปรอทเข้าสู่ร่างกายที่ละน้อย อาการคือ ปากจะเป็นแผลอักเสบเรื้อรังเป็นเวลานานและมีเส้นที่เป็นสีออกน้ำเงินที่ขอบเหงือก เหงือกนั้นจะบวมและเลือดออกได้ง่ายควบคูไปกับมีการฟันโยก มือสั่น น้ำลายออกมาก การรับรู้รสชาตินั้นค่อยๆเปลี่ยนไป มีอาการเจ็บหน้าอก มีไข้และหายใจไม่ออกจนกระทั่งเสียชีวิต
2.แบบเฉียบพลัน : การรับรู้รสนั้นเปลี่ยนไป  ปัสสาวะน้อยลง น้ำลายออกมากว่าปรกตอเป็นอย่างมาก มีแผลเกิดขึ้นในช่องปาก ความดันต่ำ ในลำคอเกิดอาการบวม หายใจลำบาก อาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง ถ่ายเหลวและมีเลือดปะปนมาในอุจจาระ กระวนกระวายอาจถึงขั้นคลุ้มคลั่งและเสียชีวิต
โรคมินามาตะ Minamata disease นี้มาจากการเกิดการแพร่ระบาดของการได้รับสารปรอทมากจนทำให้เกิดโรคที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมที่ประเทศญี่ปุ่นในครั้งอดีตเมื่อปี 1959  ที่หมู่บ้านเล็กทางตอนใต้ของญี่ปุ่น หมู่บ้านแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตปุ๋ยเคมี  คนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านทำงานที่โรงงานแห่งนี้ จนกระทั่งครั้งหนึ่งมีแพทย์ได้ตรวจพบอาการของผู่ป่วยที่เข้ามารับการรักษา มีอาการ เดินเซ ไม่สามารถยืนได้ด้วยตัวเอง มือสั่นแขนขาชา หูตึงพูดไม่ชัดและการมองเห็นนั้นแคบลง มือสั่นและในบางคนนั้นมีอาการคลุ้มคลั่งแสดงออกมา กล้ามเนื้อในร่างกายทำงานไม่ปรกติ และบางรายแขนขาเกิดอาการบิดเบี้ยว และสุดท้ายก็เสียชีวิต ซึ่งในตอนนั้นแพทย์ไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิดจากอะไร จนกระทั่งได้ตรวจพบว่าปลาที่อาศัยในทะเล รวมไปถึง นกนั้นมีอาการแปลกไป ปลาว่ายน้ำโดยหงายท้องขึ้นและช้าลง นกก็บินแล้วเกิดอาการบินแล้วหัวตกลงทะเล แล้วพอทีมแพทย์นำเนื้อเยื่อของทั้งปลาและนกที่เกิดอาการดังกล่าวมาตรวจก็พบว่ามีจุดสังเกตที่เหมือนกันกับคนที่เสียชีวิตไป แพทย์จึงสรุปว่า โรคนี้เกิดจากสารปรอทอินทรีย์ที่โรงงานนั้นปล่อยลงสู่ทะเลนั้นเอง เรื่องนี้กลายเป็นโศกนาฏกรรมที่ทำให้ทุกคนหันมาเอาใจใส่การควบคุมสารปรอท และญี่ปุ่นก็มีมาตราการในการกำจัดและป้องกันรวมถึงความคุมสารพิษนี้มาจนถึงปัจจุบัน
           
การพิมพ์สกรีน
เครดิตภาพจาก (cpe.kmutt.ac.th)
การป้องกันนั้นทำได้ไม่ยากแต่เราควรที่จะใส่ใจกันเป็นอย่างมาก เช่น
ใช้สารอื่นทดแทนการใช้สารปรอทเช่น สารแอมโมเนียของเงินแทนสารประกอบของปรอท
เมื่อพบเห็นการรั่วไหลของสารปรอทให้หาภาชนะใส่น้ำมารองไว้เพื่อป้องกันการระเหยของปรอท
สวมถุงมือและเสื้อคลุมเมื่อต้องสัมผัสสารปรอท
ในพื้นที่ที่ต้องมีการใช้สารปรอทต้องมีการจัดการระบายอากาศให้ดีและต้องมีการกักเก็บไม่ให้ฟุ้งกระจายด้วย
การจัดเก็บสารปรอทต้องเก็บอย่างถูกต้องและมิดชิดปลอดภัยที่สุด
“ในส่วนของผู้ผลิตงาน พิมพ์แพด อย่างผม สิ่งที่ผมเลือกทำในการหลีกเลี่ยงสารปรอทคือการใช้สี Non Toxic ครับ”
Non Toxic

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Appreciate for your comment. Welcome for all comment.

 

Interesting Blog